เมนู

คำว่า เมตเตยยะ เป็นโคตร เป็นเครื่องนับ เป็นเครื่องหมายรู้
เป็นบัญญัติ เป็นโวหาร แห่งพระเถระนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ท่าน
พระติสสเมตเตยยะกราบทูลถามผู้มีพระภาคเจ้าว่า
.
[227] คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอพระองค์โปรด
ตรัสบอกซึ่งความคับแค้น
มีความว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอก คือ
โปรดบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้แสดง
ประกาศซึ่งความคับแค้น คือ ความเข้าไปกระทบ ความเบียดเบียน ความ
กระทบกระทั่ง ความระทมทุกข์ ความขัดข้อง.
คำว่า มาริสะ เป็นคำกล่าวด้วยความรัก เป็นคำกล่าวด้วยความ
เคารพ เป็นคำกล่าวเป็นไปกับด้วยความเคารพ เป็นคำกล่าวด้วยความ
ยำเกรง เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอพระองค์
โปรดตรัสบอกซึ่งความคับแค้น
.
[228] คำว่า ได้ฟังคำสอนของพระองค์แล้ว มีความว่า ได้
ฟัง ได้สดับ ศึกษา เข้าไปทรง เข้าไปกำหนด ซึ่งพระดำรัส คำเป็นทาง
เทศนา คำพร่ำสอนขอพรพระองค์ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ได้ฟังคำสอน
ของพระองค์แล้ว
.

ว่าด้วยวิเวก 3



[229] คำว่า จักศึกษาในวิเวก มีความว่า คำว่า วิเวก ได้แก่
วิเวก 3 คือ กายวิเวก, จิตวิเวก, อุปธิวิเวก.

กายวิเวกเป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมซ่องเสพเสนาสนะอัน
สงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฎ ที่แจ้ง
ลอมฟาง และเป็นผู้สงัดกายอยู่ คือ เดินผู้เดียว ยืนผู้เดียว นั่งผู้เดียว
นอนผู้เดียว เข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตผู้เดียว กลับผู้เดียว นั่งอยู่ในที่หลีกเร้น
ผู้เดียว อธิษฐานจงกรมผู้เดียว เป็นผู้เดียวเที่ยวไปอยู่ เปลี่ยนอิริยาบถ
ประพฤติรักษา เป็นไป ให้เป็นไป นี้ชื่อว่า กายวิเวก.
จิตตวิเวกเป็นไฉน ? ภิกษุเข้าปฐมฌาน มีจิตสงัดจากนิวรณ์. เข้า
ทุติยฌาน มีจิตสงัดจากวิตกและวิจาร. เข้าตติยฌาน มีจิตสงัดจากปีติ.
เข้าจตุตถฌาน มีจิตสงัดจากสุขและทุกข์. เข้าอากาสานัญจายตนฌาน มี
จิตสงัดจากรูปสัญญา ปฎิฆสัญญา นานัตตสัญญา. เข้าวิญญาณัญจาย-
ตนฌาน มีจิตสงัดจากอากาสานัญจายตนสัญญา. เข้าอากิญจัญญายตนฌาน
มีจิตสงัดจากวิญญาณัญจายตนสัญญา. เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน มี
จิตสงัดจากอากิญจัญญายตนสัญญา. เมื่อเป็นพระโสดาบัน มีจิตสงัดจาก
สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย และ
จากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับสักกายทิฏฐิเป็นต้นนั้น. เป็นพระสก-
ทาคามี มีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย
ปฏิฆานุสัยอย่างหยาบ และจากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับกามราค-
สังโยชน์เป็นต้นนั้น. เป็นพระอนาคามี มีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์
ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัยอย่างละเอียด และจากกิเลสที่
ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับกามราคสังโยชน์อย่างละเอียดเป็นต้นนั้น. เป็น
พระอรหันต์ มีจิตสงัดจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา

มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย กิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับ
รูปราคะเป็นต้นนั้น และจากสังขารนิมิตทั้งปวงในภายนอก นี้ชื่อว่า
จิตตวิเวก.
อุปธิวิเวกเป็นไฉน ? กิเลสก็ดี ขันธ์ก็ดี อภิสังขารก็ดี เรียกว่า
อุปธิ อมตนิพพาน เรียกว่า อุปธิวิเวก ได้แก่ ความระงับสังขารทั้งปวง
ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสำรอก ความดับ ความ
ออกจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด นี้ชื่อว่า อุปธิวิเวก.
ก็กายวิเวก ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีกายหลีกออก ผู้ยินดียิ่งในเนกขัมมะ.
จิตตวิเวก ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีจิตบริสุทธิ์ ถึงซึ่งความเป็นผู้มีจิตผ่องแผ้ว
อย่างยิ่ง. อุปธิวิเวก ย่อมมีแก่บุคคลผู้หมดอุปธิ ถึงซึ่งนิพพานอันเป็น
วิสังขาร.1
คำว่า จักศึกษาในวิเวก มีความว่า พระเถระนั้นมีสิกขาอันศึกษา
แล้วโดยปกติ อีกอย่างหนึ่ง พระเถระนั้นเมื่อจะทูลขอพระธรรมเทศนา
จึงกราบทูลอย่างนี้ว่า จักศึกษาในวิเวก เพราะเหตุนั้น พระติสสเมตเตยย
เถระจึงกราบทูลอย่างนี้ว่า :- (ท่านพระติสสเมตเตยยะกราบทูลถามพระผู้มี
พระภาคเจ้าว่า)
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอพระองค์โปรดตรัสบอก
ซึ่งความคับแค้นของบุคคลประกอบเนือง ๆ ในเมถุนธรรม
พวกข้าพระองค์ได้ฟังคำสอนของพระองค์แล้ว จักศึกษา
ในวิเวก.


1. วิสังขารธรรม - ธรรมอันเป็นปัจจัยอะไร ๆ ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว.

[230] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :- ดูก่อนเมตเตยยะ)
คำสั่งสอนของบุคคลผู้ประกอบเนือง ๆ ในเมถุน
ธรรมย่อมเลอะเลือน และบุคคลนั้นย่อมปฏิบัติผิด นี้เป็น
ธรรมอันไม่ประเสริฐในบุคคลนั้น.

[231] คำว่า ของบุคคลผู้ประกอบเนือง ๆ ในเมถุนธรรม
ความว่า ชื่อว่าเมถุนธรรม ได้แก่ ธรรมของอสัตบุรุษ ธรรมของชาวบ้าน
ธรรมของคนเลว ธรรมชั่วหยาบ ธรรมมีน้ำเป็นที่สุด ธรรมอันพึงทำใน
ที่ลับ ธรรมคือความถึงพร้อมด้วยธรรมของคนคู่กัน.
เพราะเหตุไรจึงเรียกเมถุนธรรม ? เพราะเป็นธรรมของตนทั้งสอง
ผู้กำหนัด กำหนัดกล้า ชุ่มด้วยราคะ มีราคะกำเริบขึ้น มีจิตอันราคะ
ครอบงำ เป็นเช่นเดียวกันทั้งสองคน เพราะเหตุดังนี้นั้น จึงเรียกว่า
เมถุนธรรม.
คน 2 คนทำความทะเลาะกัน เรียกว่าคนคู่, คน 2 คนทำความ
มุ่งร้ายกัน เรียกว่าคนคู่, คน 2 คนทำความอื้อฉาวกัน เรียกว่าคนคู่, คน
2 คนทำความวิวาทกัน เรียกว่าคนคู่, คน 2 คนก่ออธิกรณ์กัน เรียกว่า
คนคู่, คน 2 คนพูดกัน เรียกว่าคนคู่, คน 2 คนปราศรัยกัน เรียกว่า
คนคู่, ฉันใด ธรรมนั้นเป็น ธรรมของคนทั้งสองผู้กำหนัด กำหนัดกล้า
ชุ่มด้วยราคะ มีราคะกำเริบขึ้น มีจิตอันราคะครอบงำ เป็นเช่นเดียวกัน
ทั้งสองคน ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุดังนี้นั้น จึงเรียกว่า เมถุนธรรม.
คำว่า ของบุคคลผู้ประกอบเนือง ๆ ในเมถุนธรรม ได้แก่
ของบุคคลผู้ประกอบ ประกอบทั่ว ประกอบเอื้อเฟื้อ ประกอบพร้อมใน

เมถุนธรรม คือผู้ประพฤติในเมถุนธรรม มักมากในเมถุนธรรม หนักใน
เมถุนธรรม น้อมไปในเมถุนธรรม โน้มไปในเมถุนธรรม โอนไปใน
เมถุนธรรม น้อมใจไปในเมถุนธรรม มีเมถุนธรรมนั้นเป็นใหญ่ เพราะ
ฉะนั้นจึงชื่อว่า ของบุคคลผู้ประกอบเนือง ๆ ในเมถุนธรรม.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพระเถระนั้น โดยโคตรว่า เมตเตยยะ.
คำว่า ภควา เป็นพระนามเครื่องกล่าวด้วยความเคารพ.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ภควา เพราะอรรถว่า ทรงทำลายราคะ
ทำลายโทสะ ทำลายโมหะ ทำลายมานะ ทำลายทิฏฐิ ทำลายเสี้ยนหนาม
ทำสายกิเลส และเพราะอรรถว่า ทรงจำแนก ทรงจำแนกวิเศษ ทรง
จำแนกวิเศษเฉพาะ ซึ่งธรรมรัตนะ เพราะอรรถว่า ทรงทำซึ่งที่สุดแห่ง
ภพทั้งหลาย เพราะอรรถว่า มีพระกายอันอบรมแล้ว มีศีลอันอบรมแล้ว
มีจิตอันอบรมแล้ว มีปัญญาอันอบรมแล้ว.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงซ่องเสพเสนาสนะอันเป็นป่าละเมาะ
และป่าทึบอันสงัด มีเสียงน้อย ปราศจากเสียงกึกก้อง ปราศจากชนผู้
สัญจรไปมา เป็นที่ควรทำกรรมลับของมนุษย์ สมควรแก่การหลีกเร้น
เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ภควา.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัย เภสัชบริขาร เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ภควา.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา
อันเป็นอรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ภควา.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งฌาน 4 อัปปมัญญา 4
อรูปสมาบัติ 4 เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ภควา.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งวิโมกข์ 8 อภิภายตนะ 8
อนุปุพพวิหารสมาบัติ 9 เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ภควา.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งสัญญาภาวนา 10 กสิณ-
สมาบัติ 10 อานาปานสติสมาธิ อสุภสมาบัติ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า
ภควา.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่ง สติปัฏฐาน 4 สัมมัปป-
ธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 อริยมรรค
มีองค์ 8 เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ภควา.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งตถาคตพลญาณ 10 เวสา-
รัชชธรรม 4 ปฏิสัมภิทา 8 อภิญญา 6 พุทธธรรม 6 เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ภควา.
พระนามว่า ภควา นี้ พระมารดา พระบิดา พระภาดา พระ
ภคินี มิตร อำมาตย์ พระญาติสาโลหิต สมณพราหมณ์ เทวดา มิได้
เฉลิมให้พระนามว่า ภควา นี้ เป็นวิโมกขันติกนาม เป็นสัจฉิกาบัญญัติ
พร้อมด้วยการทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ณ โคนแห่งต้นโพธิ์ ของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายผู้ตรัสรู้แล้ว เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนเมตเตยยะ
.

[232] คำว่า คำสั่งสอน....ย่อมเลอะเลือน มีความว่า คำสั่ง
สอนย่อมเลอะเลือนด้วยเหตุ 2 ประการ คือ คำสั่งสอนทางปริยัติย่อม
เลอะเลือน 1 คำสั่งสอนทางปฏิบัติย่อมเลอะเลือน 1.
คำสั่งสอนทางปริยัติเป็นไฉน ? คำสั่งสอนใด คือ สุตตะ เคยยะ
เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ
อันบุคคลนั้นศึกษาแล้ว นี้ชื่อว่าคำสั่งสอนทางปริยัติ คำสั่งสอนทางปริยัติ
แม้นั้น ย่อมเลอะเลือน ฟั่นเฝือ เหินห่าง. คำสั่งสอน....ย่อมเลอะ
เลือน
แม้อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.
คำสั่งสอนทางปฏิบัติเป็นไฉน ? ความปฏิบัติชอบ ความปฏิบัติ
สมควร ความปฏิบัติไม่เป็นข้าศึก ความปฏิบัติเป็นไปตามประโยชน์ความ
ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ความเป็นผู้กระทำให้สมบูรณ์ในศีล ความ
เป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้จักประมาณ
ในโภชนะ ความประกอบเนือง ๆ ในความเป็นผู้ตื่น สติสัมปชัญญะ
สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ พละ 5 โพชฌงค์
7 อริยมรรคมีองค์ 8 นี้ชื่อว่าคำสั่งสอนทางปฏิบัติ คำสั่งสอนทางปฏิบัติ
แม้นั้น ย่อมเลอะเลือน ฟั่นเฝือ เหินห่าง คำสั่งสอนย่อมเลอะเลือนแม้
อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.
[233] คำว่า บุคคลนั้นย่อมปฏิบัติผิด มีความว่า บุคคลนั้น
ย่อมฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์บ้าง. ตัดที่ต่อบ้าง ปล้นโดยไม่เหลือบ้าง ปล้น
เฉพาะเรือนหลังเดียวบ้าง ดักปล้นที่หนทางเปลี่ยวบ้าง คบหาภรรยาของ
ผู้อื่นบ้าง กล่าวคำเท็จบ้าง เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า บุคคลนั้นย่อม
ปฏิบัติผิด
.

[204] คำว่า นี้เป็นธรรมอันไม่ประเสริฐในบุคคลนั้น มี
ความว่า ข้อปฏิบัติผิดนี้ เป็นธรรมอันไม่ประเสริฐ เป็นธรรมของตน
พาล เป็นธรรมของตนหลง เป็นธรรมของตนไม่รู้. เป็นธรรมของคนมี
ถ้อยคำดิ้นได้ไม่ตายตัว ในบุคคลนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า นี้เป็น
ธรรมอันไม่ประเสริฐในบุคคลนั้น
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค
เจ้าจึงตรัสว่า :- (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนเมตเตยยะ.)
คำสั่งสอนของบุคคลผู้ประกอบเนือง ๆ ในเมถุน
ธรรมย่อมเลอะเลือน และบุคคลนั้นย่อมปฏิบัติผิด นี้เป็น
ธรรมอันไม่ประเสริฐในบุคคลนั้น.

[235] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
บุคคลใดเป็นผู้เดียวเที่ยวไปในเบื้องต้น ย่อมซ่อง
เสพเมถุนธรรม บัณฑิตทั้งหลายกล่าวบุคคลนั้นว่าเป็น
ปุถุชนคนเลวในโลก เหมือนยวดยานที่หมุนไป ฉะนั้น.


ว่าด้วยผู้บวชแล้วสึก



[236] คำว่า เป็นผู้เดียวเที่ยวไปในเบื้องต้น มีความว่า เป็น
ผู้เดียวเที่ยวไปในเบื้องต้น ด้วยเหตุ 2 ประการ คือ ด้วยส่วนบรรพชา
1, ด้วยการละความคลุกคลีด้วยหมู่ 1.
เป็นผู้เดียวเที่ยวไปในเบื้องต้น ด้วยส่วนบรรพชาอย่างไร ? บุคคล
ตัดกังวลในฆราวาสทั้งหมด ตัดกังวลในบุตรและภรรยา ตัดกังวลในญาติ